สาระน่ารู้, โซลาร์เซลล์, โซล่าเซลล์

SPD คืออะไร ทำไมติดโซล่าเซลล์ถึงต้องมี?

โซล่าเซลล์ (Solar Cell) หรือ เซลล์พลังงานแสงอาทิตย์ เป็นชื่อเรียกของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อย่างหนึ่งที่มีหน้าที่แปลงพลังงานแสงอาทิตย์ที่เป็นพลังงานสะอาดที่ได้จากธรรมชาติ และไม่มีวันหมดไปมาเป็นพลังงานไฟฟ้า โดยกระแสไฟฟ้าที่ได้จากการแปลงนั้นจะเป็นไฟฟ้ากระแสตรง (DC) สามารถนำมาใช้งานได้ทันที วัตถุประสงค์ของการใช้จะขึ้นอยู่กับผู้ใช้งาน โดยวิธีการเลือกใช้ก็จะแตกต่างกันออกไป และอุปกรณ์อีกอย่างที่หลายคนอาจจะแทบไม่เคยได้ยินแต่มีความสำคัญอย่าง SPD ที่เราต้องมาทำความรู้จัก เรียนรู้ว่า SPD คืออะไร

SPD คืออะไร ?

SPD (Surge Protection Device) คือ อุปกรณ์ป้องกันการเกิดไฟกระชาก หากเกิดแรงดันไฟฟ้า ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งเกินขนาดเจ้า SPD จะทำหน้าที่คอยควบคุมกระแสไฟฟ้าและความร้อนไม่ให้เกิดอันตราย

การเกิดไฟกระชากอาจจะเกิดได้จากการเปิดปิดสวิซต์ไฟที่เป็นแรงดันชั่วขณะทำให้อาจเกิดความเสียหายกับอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า SPD ก็จะมาแก้ไขปัญหาตรงนี้ได้ แต่สำหรับผู้ที่ติดแผงโซล่าเซลล์มีโอกาสเจอความเสี่ยงในรูปแบบปัญหาที่ต่างกันออกไป เพราะโซล่าเซลล์นั้นติดตั้งกลางแจ้งต้องเจอกับฟ้าฝน สภาพอากาศ โอกาสที่จะเจอกับฟ้าผ่าโดยเฉพาะผู้ที่ทำการติดในพื้นที่โล่ง ติดเพื่อการเกษตรทำไร่ ทำนา และหากเกิดขึ้นจริง ๆ จะส่งผลให้เกิดแรงดันไฟฟ้าเกิดขึ้นมา ณ ช่วงเวลาหนึ่งจะส่งผลเสียต่ออุปกรณ์ภายในทั้งแบตเตอรี่ อินเวอร์เตอร์ หรือโมดูล

SPD สำคัญต่อโซล่าเซลล์อย่างไร ?

SPD คืออุปกรณ์ที่จะช่วยจัดการปัญหาการเกิดไฟกระชาก แรงดันไฟฟ้าเกินขนาดทั้งจากภายในและภายนอก ช่วยให้ชุดโซล่าเซลล์ของคุณนั้นมีความปลอดภัย การติด SPD จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมาก โดยเราแนะนำให้ติด SPD ทั้งฝั่งไฟฟ้ากระแสตรง (DC) และฝั่งไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) เพื่อความปลอดภัยของทั้ง 2 ฝั่ง เปรียบเสมือนกับการลงทุนให้กับชุดโซล่าเซลล์ของเราที่จะอยู่กับเราไปอีกหลายสิบปี แล้วทำไมเราถึงต้องลงทุนไปกับโซล่าเซลล์ล่ะ ทั้ง ๆ ที่การติดตั้งโซล่าเซลล์มีราคาค่อนข้างสูง

 

ทำไมถึงต้องติดโซล่าเซลล์

ทำไมถึงต้องติดโซล่าเซลล์ อาจจะเป็นข้อสงสัยที่ใครหลาย ๆ คนอาจจะยังไม่เข้าใจ สาเหตุหลักประการแรกเนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศที่อยู่ในเขตร้อนชื้น จึงมีอุณหภูมิเฉลี่ยที่สูงอยู่แล้ว บวกกับภาวะโลกร้อนที่เป็นปัญหาอยู่ในทุกวันนี้ ทำให้อัตราการใช้เครื่องปรับอากาศภายในบ้านมีแนวโน้มสูงขึ้น และด้วยการทำงานที่หนักขึ้นของเครื่องปรับอากาศ ค่าไฟในแต่ละเดือนจึงพุ่งสูงขึ้น

ประการที่สอง ค่า Ft หรือค่าไฟฟ้าผันแปรที่ปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากต้นทุนก๊าซธรรมชาติที่นำมาผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทำให้การไฟฟ้ามีการปรับขึ้นค่า Ft จาก 24.77 สตางค์/หน่วย เมื่อปีที่แล้ว เป็น 98.27 สตางค์/หน่วย (สิงหาคม 2566) ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ทำให้ค่าไฟนั้นสูงขึ้นอย่างมาก 

ประการที่สามคือการปรับตัวตามยุคสมัย รูปแบบการทำงานแบบ Work from home หรือรูปแบบไฮบริดไม่ต้องเข้าออฟฟิศทุกวัน ทำให้ผู้คนต้องอาศัยอยู่บ้านมากขึ้น การใช้ไฟฟ้าก็จะมากขึ้นตามไปด้วย โซล่าเซลล์จึงเป็นสิ่งที่จำเป็น ที่จะเป็นตัวช่วยในการประหยัดไฟแต่จะให้ได้ประโยชน์สูงสุดนั้นต้องเลือกระบบของโซล่าเซลล์ให้เหมาะกับการใช้งาน

โซล่าเซลล์มีกี่ระบบ?

ระบบของโซล่าเซลล์ ต้องดูวัตถุประสงค์ของการใช้งานแต่ละบ้าน หากเลือกไม่เข้ากับการใช้งานการลงทุนติดโซล่าเซลล์อาจจะได้ประโยชน์แบบไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย โซล่าเซลล์ในปัจจุบันนี้มีอยู่ 3 ระบบด้วยกัน

  • โซล่าเซลล์ระบบออนกริด (On Grid) เป็นโซล่าเซลล์ระบบที่ไม่มีแบตเตอรี่ แปลงแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้าใช้งานได้ในช่วงเวลากลางวัน ในช่วงเวลากลางคืนจะใช้ไฟจากการไฟฟ้าตามปกติ หากผลิตไฟฟ้าในช่วงกลางวันได้มากกว่าที่เราใช้ เราสามารถขายไฟฟ้าคืนให้กับทางการไฟฟ้าได้ ซึ่งหากต้องการขายไฟฟ้าต้องทำการขออนุญาตทางการไฟฟ้าก่อน เหมาะกับผู้ที่ใช้ไฟมากในช่วงเวลากลางวัน เช่น ผู้ที่ต้องทำงานอยู่บ้านในช่วงเวลากลางวัน เปิดเครื่องปรับอากาศตลอดทั้งวัน โซล่าเซลล์ระบบนี้เป็นระบบที่นิยมติดมากที่สุด เพราะคืนทุนไวและตอบโจทย์การใช้งานของหลายบ้าน
  • โซล่าเซลล์ระบบออฟกริด (Off Grid) โซล่าเซลล์ระบบนี้จะมีแบตเตอรี่เป็นหัวใจหลัก โดยจะแปลงพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้าแล้วกักเก็บไว้ในแบตเตอรี่ ระบบนี้ผู้ที่ทำการติดตั้งไม่ต้องขออนุญาตจากการไฟฟ้า เพราะเป็นระบบ Stand Alone ผู้ที่เหมาะกับระบบนี้คือผู้ที่ต้องการใช้ไฟฟ้าในพื้นที่ห่างไกล ต้องพกพาแบตเตอรี่เพื่อไปเป็นพลังงานในสถานที่ต่าง ๆ เช่น ตามยอดดอย พื้นที่ห่างไกล ผู้ที่ทำสวน ทำไร่
  • โซล่าเซลล์ระบบไฮบริด (Hybrid Grid) โซล่าเซลล์ระบบลูกผสมระหว่างระบบออนกริดและระบบออฟกริด สามารถผลิตไฟฟ้าใช้ในช่วงเวลากลางวัน และมีแบตเตอรี่ไว้กักเก็บไฟไว้ใช้ในช่วงเวลากลางคืน เหมาะกับผู้ที่ใช้ไฟมากตลอดทั้งวัน เช่น ครอบครัวใหญ่  หรือออฟฟิศ อาคารห้างสรรพสินค้าต่าง ๆ โซล่าเซลล์ประเภทนี้ก่อนทำการติดตั้งต้องขออนุญาตการไฟฟ้าเช่นกัน

หลังจากรู้จักกับระบบแล้ว เราควรรู้จักส่วนประกอบภายในชุดโซล่าเซลล์เพื่อให้รู้หน้าที่ของแต่ละชิ้นเพื่อเป็นความรู้ในเบื้องต้นก่อนทำการเลือกซื้อ เพื่อทำการประเมินและเปรียบเทียบดูชุดโซล่าเซลล์แบบละเอียดว่าแบบไหนต่างกันอย่างไร?

ส่วนประกอบของชุดโซล่าเซลล์มีอะไรบ้าง?

  • แผงโซล่าเซลล์ อุปกรณ์หลักในการแปลงพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้า โดยตัวแผงควรเลือกเป็นแบบโมโนคริสตัลไลน์ (Monocrystalline Silicon Solar Cells) เป็นแผงที่ผลิตจากซิลิกอนเชิงเดี่ยวเกรดที่ดีที่สุด ทำให้สามารถผลิตไฟฟ้าได้ดีที่สุดเมื่อเทียบกับพื้นที่แผงที่เท่ากัน
  • อินเวอร์เตอร์โซล่าเซลล์ หรืออุปกรณ์ที่มีหน้าที่แปลงไฟฟ้ากระแสตรง (Direct Current) จากแผงโซล่าเซลล์ เป็นไฟฟ้ากระแสสลับ (Alternating current) เพื่อนำมาใช้กับอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน ซึ่งจะเลือกแบบออนกริดอินเวอร์เตอร์ หรือไฮบริดอินเวอร์เตอร์จะขึ้นอยู่กับการใช้งานของแต่ละบ้าน
  • แบตเตอรี่ หากคุณเลือกซื้อโซล่าเซลล์ระบบไฮบริด หรือโซล่าเซลล์ระบบออฟกริด วิธีการเลือกต้องดูที่ความจุของแบตเตอรี่ แรงดัน และอายุการใช้งาน โดยราคาของแบตเตอรี่โซล่าเซลล์จะผันแปรตามประสิทธิภาพของมัน
  • อุปกรณ์จับยึด เพื่อเพิ่มความแข็งแรงและมั่นคงของแผง ควรติดตั้งโดยผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์เพื่อความปลอดภัย

ทั้งหมดนี้คืออุปกรณ์พื้นฐานที่ในชุดโซล่าเซลล์ควรจะมี และวิธีการเลือกในเบื้องต้นสำหรับผู้ที่ต้องการติดตั้ง เพื่อพิจารณาเลือกยี่ห้อของโซล่าเซลล์

เลือกซื้อโซล่าเซลล์ยี่ห้อไหนดี ?

โซล่าเซลล์มีจำหน่ายในท้องตลาดหลายยี่ห้อ แต่ถ้าให้ตรงกับคุณสมบัติที่กล่าวไปทั้งหมดในบทความนี้ โซล่าเซลล์ PSI ต้องเป็น 1 ในคำตอบอย่างแน่นอน โซล่าเซลล์ PSI ช่วยทั้งคุณ ช่วยทั้งโลก โดยช่วยให้คุณประหยัดไฟทันทีหลังการติดตั้ง และยังช่วยลดมลภาวะ ลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ช่วยลดโลกร้อน

โซล่าเซลล์ PSI ตัวแผงผลิตจากซิลิกอนเกรดที่ดีที่สุด ทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ รับประกันยาวนาน 5 ปี อินเวอร์เตอร์ได้รับการรับร้องจากการไฟฟ้านครหลวงและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ศูนย์บริการครบวงจร ช่างได้มาตรฐานกว่า 10,000 คนทั่วประเทศ พร้อมบริการหลังการขายช่วยให้คุณอุ่นใจเมื่อซื้อโซล่าเซลล์กับ PSI

ติดโซล่าเซลล์ PSI วันนี้ที่ psienergy.co.th เริ่มต้นเพียง 14,900.- เท่านั้น (ผ่อน 0% ได้นาน 10 เดือน) ใช้งานง่ายเพียงโหลดแอป PSI Energy ให้คุณเห็นจำนวนไฟที่ผลิต จำนวนเงินที่ประหยัดได้แบบเรียลไทม์ ติดก่อนคุ้มก่อน!

เลือกชุดโซล่าเซลล์ในแบบที่เหมาะกับการใช้งานของคุณ หากยังมีข้อสงสัยที่ต้องการสอบถามเพิ่มเติมหรือ สนใจอยากติดตั้งโซล่าเซลล์ สอบถามความรู้ในเรื่องการติดอุปกรณ์ SPD สามารถติดต่อ PSI เพื่อขอคำปรึกษา ได้ที่ศูนย์บริการทุกสาขาทั่วประเทศ

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ PSI Call Center 1247 หรือเว็บไซต์  PSI.CO.TH รวมทั้งที่ช่องทางออนไลน์ของ PSI ทุกช่องทาง LINE: @PSI1247 FB : https://www.facebook.com/psisats 

โซล่าเซลล์ PSI ใช้แล้วไม่ผิดหวัง ช่วยคุณประหยัดไฟได้ล้านเปอร์เซ็นต์!

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *