สาระน่ารู้, โซลาร์เซลล์, โซล่าเซลล์

อยากติดโซล่าเซลล์ที่บ้าน ต้องคำนึงถึงปัจจัยไหนบ้าง?

โซล่าเซลล์บ้านกำลังเป็นที่นิยมในปัจจุบันเพราะขึ้นชื่อเรื่องการช่วยประหยัดค่าไฟและยังเป็นพลังงานสะอาดที่ใช้แสงอาทิตย์ในการผลิตไฟฟ้า อีกทั้งการติดตั้งยังง่ายกว่าเมื่อก่อนจึงทำให้มีผู้สนใจติดโซล่าเซลล์กันมากขึ้น ทีนี้ก่อนการติดตั้งก็ต้องมาดูกันว่าเราควรคำนึงถึงสิ่งใดบ้าง 

3 ปัจจัยสำคัญหลัก ๆ ที่ทุกคนควรรู้หากอยากติดโซล่าเซลล์บ้าน

ทิศทางที่เหมาะสม

ใครจะรู้ว่าก่อนการติดโซล่าเซลล์บ้านทิศทางเองก็สำคัญ ด้วยพื้นที่ของแต่ละบ้านนั้นมีความแตกต่างกันจึงทำให้ได้รับแสงแดดในแต่ละวันแตกต่างกันด้วย แต่เป็นความโชคดีอย่างหนึ่งที่ประเทศไทยของเราอยู่ในระยะที่ใกล้เส้นศูนย์สูตรจึงทำให้แสงแดดที่ส่องมายังประเทศไทยมีปริมาณเข้มข้น ดังนั้นการหันแผงโซล่าเซลล์เข้าหาในทิศทางที่เหมาะสมจะทำให้การผลิตกระแสไฟฟ้าได้ประสิทธิภาพมากขึ้นนั่นเอง

ทิศเหนือ โดยปกติแล้วดวงอาทิตย์จะขึ้นทางทิศตะวันออกและอ้อมไปทางทิศใต้ ทำให้ทิศเหนือเป็นทิศที่จะได้รับแสงอาทิตย์น้อยที่สุด จึงควรหลีกเลี่ยงทิศนี้และหันแผงโซล่าเซลล์ไปทางทิศอื่นจะเหมาะสมกว่า

ทิศใต้ ดังที่กล่าวมาว่าดวงอาทิตย์จะขึ้นทางทิศตะวันออกและอ้อมไปทางทิศใต้ การติดตั้งแผงโซล่าเซลล์โดยหันแผงไปทางทิศใต้จึงทำให้โซล่าเซลล์ได้รับแสงแดดตลอดทั้งวัน นอกจากนี้ยังควรทำองศาในการเอียงแผงโซล่าเซลล์ที่ 13.5 องศา จะช่วยให้ประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าของโซล่าเซลล์บ้านสูงขึ้น

ทิศตะวันออก การหันหน้าโซล่าเซลล์ไปยังทิศตะวันออก ปริมาณของแสงแดดที่ได้รับในแต่ละวันจะอยู่ในระดับปานกลาง และจะได้รับปริมาณความเข้มข้นของแสงในเวลาช่วงเช้า-เที่ยง ซึ่งการติดโซล่าเซลล์บ้านโดยหันแผงไปยังทิศนี้จะทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของแผงโซล่าเซลล์นั้นทำได้ไม่เต็ม 100%

ทิศตะวันตก การติดตั้งโซล่าเซลล์โดยหันแผงไปยังทิศตะวันตก ส่งผลเรื่องการผลิตไฟฟ้าเฉกเช่นเดียวกับทิศตะวันออก แตกต่างกันเล็กน้อยคือจะได้รับปริมาณความเข้มข้นของแสงแดดในช่วงเที่ยง-เย็น

หากถามว่าทิศใดเหมาะสมที่สุดในการติดโซล่าเซลล์ คำตอบก็คือทิศใต้ที่สามารถเก็บพลังงานแสงอาทิตย์ได้ตลอดทั้งวัน แต่อย่างไรก็ตามถ้ามีกรณีทางทิศใต้ของพื้นที่บ้านไม่สามารถใช้งานได้เพราะมีต้นไม้หรือตึกบดบังแสงอยู่ ก็สามารถตั้งแผงไปยังทิศตะวันออกหรือตะวันตกแทนได้เช่นกัน

วัสดุของหลังคาบ้าน

อีกหนึ่งปัจจัยของการติดโซล่าเซลล์ก็คือวัสดุมุงหลังคา แผงโซล่าเซลล์บ้านสามารถติดตั้งได้กับหลังคาบ้านหลากหลายประเภทโดยจะแตกต่างกันที่วัสดุที่ใช้ยึดจับกับหลังคา โดยวัสดุมุงหลังคาที่นิยมมีทั้งหมด 3 แบบ ได้แก่

  • วัสดุมุงหลังคาแบบเมทัลชีท
  • วัสดุมุงหลังคาแบบ Cpac (แผ่นหยัก และแผ่นเรียบ)

วัสดุมุงหลังคาแบบลอนคู่

 

ระบบของโซล่าเซลล์

ปัจจัยสำคัญในการติดตั้งโซล่าเซลล์อีกอย่างก็คือเรื่องระบบโซล่าเซลล์ การใช้งานที่เหมาะสมของระบบโซล่าเซลล์ขึ้นอยู่กับปริมาณการใช้ไฟฟ้าของผู้ใช้ รวมไปถึงบริเวณที่ตั้งสถานที่ของผู้ใช้งานด้วย โดยระบบของโซล่าเซลล์แบ่งออกเป็นทั้งหมด 3 ประเภท ได้แก่ ระบบออนกริด ระบบออฟกริด และระบบไฮบริด

ระบบออนกริด (On Grid) ระบบโซล่าเซลล์นี้เป็นที่นิยมมากที่สุด นอกจากจะผลิตไฟฟ้าให้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านในเวลากลางวันแล้ว ในเวลากลางคืนก็ยังสามารถดึงไฟฟ้าจาการไฟฟ้าฯ มาใช้ได้ และยังสามารถขายไฟฟ้าคืนทางการไฟฟ้าฯ ได้อีกด้วย

ระบบออฟกริด (Off Grid) ระบบโซล่าเซลล์แบบออฟกริดไม่จำเป็นต้องพึ่งพาการไฟฟ้าฯ เหมาะกับบ้านที่มีพื้นที่ห่างไกล ไฟฟ้าเข้าไปไม่ถึง โดยระบบนี้จะผลิตไฟฟ้าแล้วนำพลังงานนั้นไปเก็บไว้ในแบตเตอรี่สำรองไฟทำให้สามารถใช้ไฟจากโซล่าเซลล์ได้ทั้งเวลากลางวันและกลางคืน แต่มีข้อเสียคือหากพลังงานสำรองไฟหมดก็จะไม่สามารถใช้ไฟฟ้าได้เลย

ระบบไฮบริด (Hybrid) ระบบโซล่าเซลล์แบบไฮบริดคือระบบที่ผสมผสานระหว่างออนกริดและออฟกริด สามารถใช้ไฟฟ้าได้ทั้งกลางวันและกลางคืนโดยมีแบตเตอรี่สำรองไฟฟ้า ทำให้ใช้ไฟฟ้าได้แม้จะไม่มีแสงอาทิตย์ เป็นข้อดีสำหรับบ้านที่ใช้ไฟเยอะในเวลากลางวันและกลางคืน แต่มีข้อเสียคือราคาที่ค่อนข้างสูง

จากทั้ง 3 ระบบนี้ระบบออนกริดนั้นเป็นระบบที่นิยมใช้กันมากที่สุด เหมาะกับผู้ที่คิดอยากติดโซล่าเซลล์บ้านเพราะมีราคาที่ดีและคุ้มทุนได้ไวมากกว่าระบบอื่น

ติดโซล่าเซลล์บ้านกับผู้เชี่ยวชาญจาก PSI 

PSI ใส่ใจลูกค้าและมีบริการที่ครบครัน พร้อมให้คำปรึกษาและให้คำแนะนำเบื้องต้นก่อนติดตั้งโซล่าเซลล์บ้าน สามารถนัดหมายเพื่อเข้าสำรวจหน้างานโดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพื่อแนะนำชุดโซล่าเซลล์ที่เหมาะสมกับบ้านของคุณได้ อีกทั้งยังมีศูนย์บริการครอบคลุม 30 สาขาทั่วประเทศ พร้อมบริการส่งสินค้าฟรี ติดตั้งโซล่าเซลล์โดยช่างที่ได้มาตรฐาน หากคุณสนใจติดตั้งโซล่าเซลล์กับ PSI สามารถเข้าไปดูสินค้าได้ใน PSI.CO.TH หรือติดต่อผ่าน Call Center ด้วยหมายเลข 1247 รวมทั้งช่องทางออนไลน์ของ PSI ทุกช่องทาง LINE: @PSI1247 Facebook: https://www.facebook.com/psisats

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *