โซล่าเซลล์, สาระน่ารู้

ไฟตกบ่อยทำยังไง? แก้ด้วยระบบโซล่าเซลล์ไฮบริดได้ไหม?

เชื่อว่าหลาย ๆ บ้านคงต้องเคยประสบปัญหาไฟตกกันบ้างไม่มากก็น้อย การต้องเจอกับปัญหาไฟตกบ่อย ย่อมเกิดความรำคาญและเสียหายไม่น้อยแถมยังส่งผลเสียต่ออุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้ามากกว่าที่คิด เพราะปัจจุบันไม่ว่าจะบ้านไหน ๆ ก็ต้องใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์กันทั้งนั้น ยิ่งถ้าบ้านไหนเป็น Home Office ยิ่งได้รับผลกระทบมากเป็นพิเศษ แล้วไฟตกมันคืออะไร เกิดจากอะไร จะแก้ปัญหาด้วยเจ้าระบบโซล่าเซลล์ไฮบริดได้ยังไง บทความนี้มีคำตอบ

 

มารู้จักคำว่า “ไฟตก” กันก่อน

ไฟตก หมายถึงแรงดันไฟฟ้าจากระบบไฟฟ้าที่ถูกส่งมาใช้ตามบ้านเรือนลดลง โดยปกติแรงดันไฟฟ้าที่จ่ายมายังบ้านเรือนจะอยู่ที่ 220 โวลต์ เมื่อไฟตก แรงดันจะลดลงเหลือเพียง 180-200 โวลต์หรือต่ำกว่า 220 โวลต์ ทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้าทำงานไม่ปกติ ซึ่งจะเห็นได้ชัดจากการที่เครื่องใช้ไฟฟ้าหยุดทำงานในระยะสั้น ๆ ที่สังเกตได้บ่อย เช่น แอร์ไม่ติด พัดลมเบาลง ตู้เย็นดับ ปั๊มน้ำไม่ทำงาน หลอดไฟสว่างน้อยลง เป็นต้น จนทำให้เกิดความรำคาญขณะต้องการใช้ไฟนั่นเอง

 

ไฟตกบ่อยมีสาเหตุจากอะไร?

เกิดได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้

  1. ปัญหาไฟฟ้าดับ สังเกตได้ว่าไฟตกมักเกิดก่อนไฟจะดับ
  2. ละแวกที่อยู่อาศัยมีจำนวนบ้านเรือนอยู่กันเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดการแย่งไฟฟ้ากัน
  3. บ้านอยู่ห่างไกลจากสถานีจ่ายไฟ ทำให้แรงดันไฟฟ้าลดลงตามระยะทาง
  4. ใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าพร้อมกันจำนวนมาก จนทำให้จ่ายไฟไม่ทัน
  5. สายไฟในบ้านชำรุด ทำให้เสียแรงดันไฟฟ้าอยู่ตลอดเวลา
  6. มีกระแสไฟฟ้ารั่วลงดิน ทำให้แรงดันไฟตก
  7. เกิดจากสภาพอากาศภายนอกแปรปรวน เช่น ฝนตกหนัก ฟ้าผ่า ทำให้เกิดความเสียหายต่อเสาส่งไฟฟ้า

 

ปัญหาที่เกิดจากไฟตกบ่อย

นอกจากก่อให้เกิดความรำคาญใจขณะต้องการใช้ไฟฟ้าแล้ว ปัญหาใหญ่กว่านั้นคือ การที่แรงดันไฟฟ้าทำงานไม่สม่ำเสมอ ส่งผลให้เครื่องใช้ไฟฟ้าทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ วงจรภายในของเครื่องใช้ไฟฟ้าเกิดการชำรุดเสียหาย ทำให้อายุการใช้งานของเครื่องใช้ไฟฟ้าสั้นลง และพังง่าย นอกจากนี้การที่ไฟตกบ่อยยังก่อให้เกิดการสะสมความร้อน โดยเฉพาะเครื่องใช้ไฟฟ้าจำพวกมอเตอร์ หากปล่อยไว้นานโดยไม่ได้รับการแก้ไขอาจทำให้เกิดเป็นไฟไหม้ เสียหายทั้งทรัพย์สินในการซ่อมแซม และอาจจะถึงขั้นเสียชีวิตได้

 

วิธีแก้ปัญหาและป้องกันไฟตกบ่อย

  1. ตรวจสอบว่ามีการเปิดใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่อัตรากินไฟสูงในเวลาเดียวกันจำนวนมากหรือไม่ 

แก้ไขด้วยการปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าที่คาดว่าจะเป็นตัวการแล้วลองสังเกตอาการไฟตกว่ายังเกิดขึ้นอยู่หรือไม่ หากปิดแล้วไฟกลับมาใช้งานได้ปกติแสดงว่าเกิดจากเครื่องใช้ไฟฟ้าตัวนั้น ครั้งต่อไปควรเลี่ยงเปิดใช้งานพร้อมกับเครื่องใช้ไฟฟ้าตัวอื่นจำนวนมาก

  1. ติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันไฟตก เพื่อใช้เป็นอุปกรณ์ควบคุมแรงดันไฟฟ้าทำหน้าที่ปรับกระแสไฟฟ้าให้คงที่สม่ำเสมอ

หากเกิดแรงดันไฟฟ้าที่ไม่ปกติ อุปกรณ์ควบคุมจะจ่ายไฟฟ้าไปยังเครื่องใช้ไฟฟ้าตามที่ตั้งค่าไว้ เพื่อป้องกันความเสียหาย และสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  1. เลือกใช้ปลั๊กที่ได้มาตรฐาน

ควรเลือกที่มีระบบ Surge Protection สามารถปรับค่าแรงดันไฟฟ้าให้คงที่จากไฟตก ไฟเกิน ไฟกระชากได้

  1. ถอดปลั๊กทุกครั้งหลังใช้งาน

เพราะการเสียบปลั๊กทิ้งไว้เท่ากับว่ายังมีกระแสไฟไหลผ่านอยู่ หากเกิดเหตุการณ์ไฟตกเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เสียบปลั๊กทิ้งไว้จะได้รับผลกระทบไปด้วย

  1. เช็กสภาพเครื่องใช้ไฟฟ้าและสายไฟในบ้านไม่ให้ชำรุด คงสภาพดีอยู่เสมอ

หากพบว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าระบบขัดข้องภายใน อาจส่งผลให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจร หรือสายไฟขาดเสื่อมสภาพ ควรหยุดใช้ทันที แล้วทำการเปลี่ยนใหม่หรือซ่อมแซม ไม่ควรปล่อยไว้ เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นภายหลัง

 

แก้ปัญหาไฟตกบ่อย ด้วยระบบโซล่าเซลล์ไฮบริด

 

การติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ไฮบริดเป็นอีกวิธีที่สามารถแก้ปัญหาได้อย่างตรงจุด นอกเหนือจากวิธีแก้ปัญหาไฟตกบ่อยตามวิธีข้างต้น ด้วยหลักการทำงานของโซล่าเซลล์ไฮบริด ซึ่งปกติระบบโซล่าเซลล์มีทั้งหมด 3 ระบบ โดยโซล่าเซลล์ไฮบริดจะเป็นการผสมผสานการทำงานระหว่างระบบโซล่าเซลล์ on grid และระบบโซล่าเซลล์ off grid ทำให้ระบบนี้สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าใช้ได้ในเวลากลางวันและกักเก็บพลังงานส่วนเกินไว้ที่แบตเตอรี่ เพื่อนำมาใช้ในเวลากลางคืนโดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพาไฟที่จ่ายจากระบบของการไฟฟ้า

 

ดังนั้น เมื่อเราไขข้อสงสัยแล้วว่าที่มาของการที่ไฟตกบ่อยเกิดจากสาเหตุใด มีวิธีแก้ปัญหาและการป้องกันไม่ให้เกิดไฟตกขึ้นได้อย่างไรแล้ว จะได้รู้ว่าอะไรควรทำหรือควรหลีกเลี่ยงเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาอีกต่อไป 

หากคุณกำลังประสบปัญหานี้อยู่ อยากได้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโซล่าเซลล์ที่มีคุณภาพ ปลอดภัย ได้มาตรฐานรับรองจากการไฟฟ้านครหลวงและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค รวมถึงปรึกษาเกี่ยวกับการติดตั้งได้ที่ PSI.CO.TH รวมถึงทุกช่องทางออนไลน์ของ PSI 

LINE : @PSI1247 

FB : https://www.facebook.com/psisats  

บทความที่เกี่ยวข้อง


โซล่าเซลล์ PSI ช่วยคุณประหยัดไฟได้ล้านเปอร์เซ็นต์!