สาระน่ารู้

5 วิธีประหยัดไฟในยุคที่น้ำมันแพง ค่าไฟแพง ทุกอย่าง “แพง”

เนื้อหมูแพง ผักแพง น้ำมันแพง ล่าสุดนี้ถึงคิวค่าไฟแพง เพราะ กกพ. มีมติเพิ่มค่า Ft ซึ่งเป็นหนึ่งในสิ่งที่ใช้คำนวณค่าไฟ ระหว่างเดือน พ.ค. – ส.ค. 2022 จากเดิม 1.39 สตางค์/หน่วย เป็น 24.77 สตางค์/หน่วย ทำให้อัตราค่าไฟของพวกเราชาวไทยเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 4 บาท/หน่วย

         ค่าไฟแพงขึ้นอย่างนี้ เราจะมีวิธีประหยัดไฟอย่างไร? ลองมาดู 5 วิธีประหยัดไฟในยุคที่อะไรๆ ก็แพงไปด้วยกัน

  1. ประหยัดไฟด้วยการ “ถอดปลั๊กไฟทุกครั้งที่เลิกใช้งาน”

         เชื่อหรือไม่ว่าวิธีเบสิกๆ เช่นนี้เป็นวิธีประหยัดไฟที่ได้ผล และยังเป็นวิธีที่คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน หรือ กกพ. แนะนำให้ประชาชนอย่างเราๆ ทำ เพียงถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้า หรือหากเสียบสายไฟไว้กับปลั๊กพ่วงก็ให้ปิดสวิตช์ที่อยู่บนรางปลั๊กไฟ เพียงเท่านี้ก็จะทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้าหยุดกินไฟได้แล้ว

         หากอยากประหยัดไฟ ต้องจำไว้เสมอว่าปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าไม่เท่ากับถอดปลั๊ก เพราะตราบใดที่ยังเสียบปลั๊กค้างเอาไว้ เครื่องใช้ไฟฟ้าชิ้นนั้นก็จะยังคงกินไฟต่อไป ส่งผลให้ค่าไฟแพงเหมือนเดิม

         สำหรับคนขี้ลืม เราขอแนะนำ Smart Plug อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะที่สามารถเปิด-ปิดสวิตช์ทางไกลได้ผ่าน Smartphone แค่ปิดสวิตช์ก็เท่ากับถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้า ประหยัดไฟได้แม้ตัวไม่อยู่บ้าน! อยากรู้วิธีการใช้งาน Smart Plug ใช่ไหม? ลองไปอ่านเพิ่มเติมได้ที่ เปลี่ยนบ้านธรรมดาเป็นสมาร์ทโฮม ด้วย 3 อุปกรณ์ IOT

  1. ประหยัดไฟด้วยการ “เปิดเครื่องปรับอากาศที่อุณหภูมิ 26-27 องศา”

         การเปิดเครื่องปรับอากาศในอุณหูมิ 26-27 องศาช่วยประหยัดไฟได้จริง เพราะเครื่องคอยล์ร้อนหรือคอมเพรสเซอร์จะทำงานน้อยกว่าเมื่อเทียบกับการเปิดแอร์ในอุณหภูมิต่ำๆ ส่งผลให้เครื่องปรับอากาศของเรากินไฟน้อยลงไปด้วย

         หากอยากประหยัดไฟ ต้องจำไว้เสมอว่ายิ่งหนาวยิ่งกินไฟ เมื่อใดก็ตามที่รู้สึกว่าการตั้งเครื่องปรับอากาศที่อุณหภูมิ 26-27 องศานั้นร้อนเกินไป ลองเปิดพัดลมเบอร์ 1 เพิ่มก็จะช่วยให้อากาศในห้องเกิดการหมุนเวียนและรู้สึกเย็นกว่าเดิมได้

  1. ประหยัดไฟด้วยการ “ใช้หลอดไฟ LED”

         หลอดไฟ LED นั้น นอกจากจะให้แสงสว่างดีกว่าหลอดไฟแบบไส้แล้ว ยังมีคุณสมบัติเด่นอีกข้อหนึ่งคือประหยัดไฟ เพราะถึงแม้ว่าจะให้ความสว่างมากแต่กลับกินไฟน้อยหรือใช้พลังงานน้อย นอกจากประหยัดไฟแล้วก็ยังประหยัดเงิน เพราะมีอายุการใช้งานยาวนานกว่าหลอดไส้ด้วย

หากอยากประหยัดไฟ ต้องจำไว้เสมอว่า LED ดีกว่าจริงๆ แม้ราคาของหลอด LED จะสูงกว่าหลอดทั่วไป แต่เพราะมีอายุการใช้งานยาวนานกว่าอีกทั้งยังให้แสงสว่างได้ดีกว่า การเลือกใช้หลอด LED  จึงเป็นการลงทุนที่คุ้มค่ากว่าและช่วยลดปัญหาค่าไฟแพงได้นั่นเอง

  1. ประหยัดไฟด้วยการ “เลือกใช้อุปกรณ์ประหยัดไฟเบอร์ 5”

         โครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 ของ กฟผ. คือโครงการที่ช่วยให้เราประหยัดไฟได้ง่ายขึ้น เพราะโครงการดังกล่าวจะออกฉลากให้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ผ่านการทดสอบแล้วว่ามีประสิทธิภาพในการประหยัดไฟ โดยค่าสูงสุดคือเบอร์ 5 สามดาว

หากอยากประหยัดไฟ ต้องจำไว้เสมอว่าเบอร์ 5 ประหยัดไฟ เลือกใช้อุปกรณ์ประหยัดไฟเบอร์ 5 ไม่ว่าจะเป็นตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ เครื่องทำน้ำอุ่น หลอดไฟ LED หรือเครื่องฟอกอากาศ ฯลฯ เพราะนอกจากจะได้รับการรับรองว่าช่วยประหยัดไฟได้ยิ่งกว่าเบอร์อื่นๆ ช่วยให้ค่าไฟไม่แพงแล้ว ยังได้รับการทดสอบแล้วว่ามีประสิทธิภาพการทำงานที่ดีด้วย

  1. ประหยัดไฟด้วยการ “ติดตั้งโซล่าเซลล์”

         โซล่าเซลล์ (Solar Cell) คือการนำพลังงานแสงอาทิตย์มาแปลงเป็นพลังงานไฟฟ้า จุดเด่นคือ 1. พลังงานแสงอาทิตย์นั้นเป็นพลังงานที่ไม่มีวันหมด 2. พลังงานแสงอาทิตย์ใช้ได้ ไม่มีใครเป็นเจ้าของ 3. พลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานสะอาด การติดโซล่าเซลล์สามารถช่วยประหยัดไฟได้ตั้งแต่หลักพันไปจนถึงหลักหมื่นต่อปี ระยะเวลาคืนทุนขึ้นอยู่กับขนาดและประเภทของแผงโซล่าเซลล์ที่เลือกติดตั้ง

หากอยากประหยัดไฟไปพร้อมๆ กับการรักษ์โลก ต้องจำไว้เสมอว่าประหยัดกว่าถ้าใช้โซล่าเซลล์ ลองมองหาไฟโซล่าเซลล์เล็กๆ มาใช้ดูก่อนก็ได้ และเมื่อพอใจกับการไม่ต้องการเสียค่าไฟสักบาทให้กับไฟโซล่าแล้ว เราขอแนะนำแผงโซล่าเซลล์ของพีเอสไอที่มีให้เลือกใช้หลากหลายแบบตามความต้องการ ไม่ว่าจะเป็นแบบ Solar Roof ที่ช่วยประหยัดไฟได้สูงสุด 36,000 บาท/ปี หรือแบบ Easy Plug ชุดโซล่าเซลล์ชุดเริ่มต้นของ PSI ที่ช่วยประหยัดไฟได้กว่า 2,500บาท/ปี (ความสามารถในการประหยัดไฟ ขึ้นอยู่กับปริมาณการใช้ไฟในช่วงกลางวันเป็นหลัก)

         สามารถสั่งซื้อตัวช่วยประหยัดไฟอย่าง Smart Plug และโซล่าเซลล์ รวมถึงขอรับคำปรึกษาเกี่ยวกับการติดตั้งโซล่าเซลล์เพื่อประหยัดค่าไฟได้ที่ PSI.CO.TH รวมทั้งที่ช่องทางออนไลน์ของ PSI ทุกช่องทาง LINE : @PSI1247 FB : https://www.facebook.com/psisats

บทความที่เกี่ยวข้อง


มาประหยัดไฟไปด้วยกัน ฝ่าฟันยุคที่ข้าวของทุกอย่างรวมถึงค่าไฟ “แพง” ไปด้วยกัน