สาระน่ารู้, กล่องรับสัญญาณ

ติดจานดาวเทียม PSI แบบไหนที่ใช่ ดีกว่าทีวีดิจิตอลอย่างไร?

ในสภาวการณ์ปัจจุบัน ต้องยอมรับว่าการรับชมข่าวสารและความบันเทิงถือเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญต่อการใช้ชีวิต นอกจากเพื่อให้เท่าทันกับสถานการณ์ปัจจุบันแล้ว ยังเป็นการผ่อนคลายสภาวะความตึงเครียดที่มีจากการทำงาน และแน่นอนว่าในยุคที่โลกมีขนาดเล็กลงเพราะการเติบโตทางเทคโนโลยี ส่งผลให้รูปแบบการใช้ชีวิตและพฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป แม้กระทั่งรูปแบบของการเสพสื่อก็ยังมีทางเลือกให้มากขึ้นกว่าเดิมจากที่เห็นในปัจจุบัน ทั้งการติดจานดาวเทียม หรือระบบของจานดาวเทียม (ผ่านกล่องรับสัญญาณทีวี) และระบบดิจิตอล (Built-in TV / ทีวีดิจิตอล) เป็นทางเลือกให้กับผู้บริโภค แต่อะไรที่เป็นปัจจัยสำคัญต่อการตัดสินใจเลือกของผู้บริโภค วันนี้เราจึงมีข้อมูลดี ๆ มาแนะนำเพื่อสร้างการรับรู้ให้กับคุณในการตัดสินใจเลือกใช้ได้อย่างเหมาะสม และตอบโจทย์การใช้งานมากที่สุด 

ทำไมติดจานดาวเทียมถึงดีกว่าทีวีดิจิตอล?

      หลายคนอาจสงสัยว่าระหว่างติดจานดาวเทียมกับติดทีวีดิจิตอลแบบไหนดีกว่า? ต้องบอกว่าการติดจานดาวเทียมสัญญาณจะเสถียรมากกว่า โดยเฉพาะเมื่ออากาศไม่เป็นใจและมีฝนตก ฟ้าร้อง ลมพัด จานดาวเทียมอย่าง C-Band ก็ยังทำให้สัญญาณทีวีไม่ล่ม และสามารถรับสัญญาณจากต่างประเทศได้ หรือจะเป็น KU-Band ที่ใช้พื้นที่ในการติดตั้งน้อย ความถี่ในการรับสัญญาณสูง มีช่องรายการให้รับชมมากกว่าสัญญาณทีวีดิจิตอล

จานดาวเทียม PSI มีทั้งหมดกี่แบบ?

จานดาวเทียม PSI มีทั้งหมด 2 ประเภท ได้แก่ C-Band และ KU-Band แต่ละแบบจะมีลักษณะแตกต่างกันมากน้อยเพียงใด สัญญาณดาวเทียมเสถียรเหมือนกันไหม หรือใช้งานต่างกันอย่างไร มาอ่านกันเลย!

  • จานดาวเทียมแบบ C-Band

       จานดาวเทียม PSI ประเภท C-Band คือ จานดาวเทียมที่มีลักษณะโปร่ง ขนาดใหญ่คล้ายตะแกรง มักเป็นสีดำ จึงมีอีกชื่อเรียกว่า “จานดำ” โดย C-Band มีระบบการส่งคลื่นความถี่กลับมาที่โลกขนาด 3.4-4.2 GHz ซึ่งมีฟุตพริ้นต์ที่กว้าง ขนาดของจานดาวเทียมมีทั้งหมด 3 ขนาด คือ 1.5 เมตร 1.7 เมตร และ 1.8 เมตร ส่งสัญญาณครอบคลุมพื้นที่และให้บริการได้ในหลายประเทศ ซึ่งสัญญาณดาวเทียมที่รับได้จากต่างประเทศ ส่วนใหญ่จะเป็นจานดาวเทียมประเภท C-Band

  • จานดาวเทียมแบบ KU-Band

จานดาวเทียม PSI ประเภท KU-Band มีขนาดเล็กกว่า C-Band มีลักษณะเป็นแบบทึบ โดยจะมีขนาดของจานดาวเทียมตั้งแต่ 35 ซม. 60 ซม. และ 75 ซม. ทำให้เคลื่อนย้ายตำแหน่งการติดตั้งได้ง่าย โดย KU-Band จะเหมาะการรับ-ส่งสัญญาณเฉพาะในประเทศ ความถี่ของจานดาวเทียม KU-Band จะอยู่ที่ 10-12 GHz ซึ่งเป็นความถี่ที่สูงกว่า C-Band

จะเห็นได้ว่าจานดาวเทียม PSI ทั้งสองแบบมีลักษณะที่แตกต่างกัน แต่จะมีข้อดี-ข้อเสียกันอย่างไรบ้าง อ่านภาพข้างล่างนี้ได้เลย

จะเห็นได้ว่าจานดาวเทียม PSI ทั้ง 2 ประเภท และข้อดีข้อเสียมีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย หากเป็นจานดาวเทียม C-Band จะสามารถรับชมทีวีระหว่างฝนตกหนักได้สบาย ๆ ในขณะที่ KU-Band อาจจะมีภาพสะดุดบ้างเมื่อมีเมฆทึบหรือฝนตกแบบหนัก ๆ ดังนั้นการเลือกใช้จานดาวเทียมก็ควรดูพื้นที่ในการติดตั้งในบ้าน รวมถึงคำนึงถึงสภาพอากาศในบริเวณที่ที่พักอาศัยตั้งอยู่ด้วย รู้จักกับจานดาวเทียม PSI ทั้งสองประเภทรวมถึงข้อดี-ข้อเสียกันไปแล้ว ก็อาจจะพอมีคำตอบในใจว่าจานดาวเทียม PSI แบบไหนที่เหมาะกับสภาพอากาศในประเทศไทยและเหมาะกับคุณ แต่จะดูทีวีทั้งทีจะมีแค่จานดาวเทียมก็กระไรอยู่ ตอนนี้เราลองมาทำความรู้จักกับกล่องทีวี PSI กันสักหน่อย

กล่องรับสัญญาณ PSI S3 Hybrid

กล่องรับสัญญาณ PSI S3 Hybrid มีฟังก์ชันมากมาย สามารถเปลี่ยนบ้านของคุณให้ Smart ได้กว่าเดิม จะมีอะไรพิเศษเกี่ยวกับ S3 Hybrid บ้าง ไปดูดีเทลของกล่องรับสัญญาณตัวนี้กันเลย

กล่องรับสัญญาณ PSI รุ่นนี้จะมาพร้อมกับเทคโนโลยี Smart Satellite พร้อมให้สัมผัสความบันเทิงแบบเต็มรูปแบบ ฟังก์ชันตอบโจทย์ผู้ใช้งาน มีทั้งโหมดคาราโอเกะ ดูหนัง ฟังเพลง และสามารถควบคุมหรือใช้งานกับมือถือ Smartphone ได้เพียงใช้คู่กับแอปพลิเคชัน S3 Hybrid สามารถดูข้อมูลเกี่ยวกับ S3 Hybrid เพิ่มเติมได้ที่ กล่องรับสัญญาณ S3 Hybrid กับฟังก์ชันที่ควรรู้ หรือ เปลี่ยนTV ทุกเครื่องให้ Smart พร้อมเพลินกับทีวี 200+ ช่อง ด้วยกล่อง PSI S3 Hybrid

 

อย่างไรก็ตาม การใช้จานดาวเทียม PSI มีข้อดีมากมาย เพราะมีทั้งแบบ C-Band และ KU-Band ให้เลือกใช้ที่เหมาะกับสถานที่อยู่อาศัยของคุณ และหากใช้คู่กับกล่องรับสัญญาณจานดาวเทียม PSI ก็จะพบกับความบันเทิงเต็มรูปแบบมากยิ่งขึ้น ตอบโจทย์คนชอบดูหนัง ฟังเพลง หรือร้องคาราโอเกะอีกด้วย เรียกได้ว่าไม่ว่าจะเป็นจานดาวเทียมหรือกล่องทีวีดิจิตอลต่างก็มีข้อดีของมัน

หากสนใจจานดาวเทียมของ PSI  หรือกล่องรับสัญญาณ S3 Hybrid สามารถเข้าไปดูสินค้าได้ใน PSI.CO.TH หรือติดต่อผ่าน Call Center ที่หมายเลข 1247 รวมทั้งช่องทางออนไลน์ของ PSI ทุกช่องทาง

LINE: @PSI1247

Facebook: https://www.facebook.com/psisats

 

บทความที่เกี่ยวข้อง