โซล่าเซลล์, สาระน่ารู้

รู้หรือไม่? แผงโซล่าเซลล์มีกี่ชนิด ต่างกันอย่างไร?

             หลายท่านอาจจะไม่รู้ว่าแผงโซล่าเซลล์มีกี่ประเภท และแต่ละประเภทมีคุณสมบัติหรือการใช้งานแตกต่างกันอย่างไร? วันนี้เรามาทำความรู้จักแผงโซล่าเซลล์กันดีกว่าค่ะ

ประเภทของโซล่าเซลล์ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท

             1. แผงโซล่าเซลล์ชนิด โมโนคริสตัลไลน์ (Monocrystalline Silicon Solar Cells)

             เป็นแผลโซล่าเซลล์ที่ทำมาจาก ผลึกซิลิคอนเชิงเดี่ยว (mono-Si) หรือบางทีก็เรียกว่า single crystalline (single-Si) โดยจุดในการสังเกตุง่ายๆ คือเซลล์ของแผงนั้นจะมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมตัดมุมสี่มุม เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส สีของแผงเป็นสีน้ำเงิน ไม่เข้มมาก โดยแผงโซล่าเซลล์ชนิดนี้ทำมาจาก ซิลิคอนที่มีความบริสุทธิ์สูง โดยมาจากแท่งซิลิคอนทรงกระบอก ที่เกิดมาจากกระบวนการกวนให้ผลึกเกาะกันที่แกนกลาง ที่เรียกว่า Czochralski process จึงทำให้เกิดแท่งทรงกระบอก จากนั้นจึงนำมาตัดให้เป็นสี่เหลี่ยม และลบมุมทั้งสี่ออก เพื่อที่จะทำให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด และลดการใช้วัตถุดิบโมโนซิลิคอนลง ก่อนที่จะนำมาตัดเป็นแผ่นอีกที จึงทำให้เซลล์แต่ละเซลล์หน้าตาเป็นอย่างที่เห็นในแผงโซล่าเซลล์

         ข้อดีของแผงโซล่าเซลล์ชนิด โมโนคริสตัลไลน์

             – มีประสิทธิภาพสูงสุด เพราะผลิตมาจากซิลิคอนเกรดดีที่สุด โดยมีประสิทธิภาพเฉลี่ยอยู่ที่ 15-20%

             – มีประสิทธิภาพต่อพื้นที่สูงสุด เพราะว่าให้กำลังสูงจึงต้องการพื้นที่น้อยที่สุดในการติดตั้งแผงโซลล่าเซลล์

             – มีอายุการใช้งานยาวนานที่สุด โดยเฉลี่ยแล้วประมาณ 25 ปีขึ้นไป

             – ผลิตกระแสไฟฟ้าได้มากกว่าชนิดโพลีคริสตัลไลน์ เมื่ออยู่ในภาวะแสงน้อย

        ข้อเสียของแผงโซล่าเซลล์ชนิด โมโนคริสตัลไลน์

             – เป็นชนิดที่มีราคาแพง

             – ถ้าหากแผงโซล่าเซลล์มีความสกปรกหรือถูกบังแสงในบางส่วนของแผง อาจทำให้วงจรหรือ inverter ไหม้ได้ เพราะอาจจะทำให้เกิดโวลต์สูงเกินไป

 

             2. แผงโซล่าเซลล์ชนิด โพลีคริสตัลไลน์ (Polycrystalline Silicon Solar Cells)

             แผงโซล่าเซลล์ชนิด โพลีคริสตัลไลน์ เป็นแผงโซล่าเซลล์ที่ทำมาจากผลึกซิลิคอน โดยทั่วไปเรียกว่า โพลีคริสตัลไลน์ (polycrystalline,p-Si) แต่บางครั้งก็เรียกว่า มัลติ-คริสตัลไลน์ (multi-crystalline,mc-Si) โดยในกระบวนการผลิต สามารถที่จะนำเอา ซิลิคอนเหลว มาเทใส่โมลด์ที่เป็นสี่หลี่ยมได้เลย ก่อนที่จะนำมาตัดเป็นแผ่นบางอีกที จึงทำให้เซลล์แต่ละเซลล์เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ไม่มีการตัดมุม สีของแผงจะออก น้ำเงิน ไม่เข้มมาก

        ข้อดีแผงโซล่าเซลล์ชนิด โพลีคริสตัลไลน์

             – มีขั้นตอนกระบวนการผลิตที่ง่าย ไม่ซับซ้อน

             – มีประสิทธิภาพในการใช้งานในที่อุณหภูมิสูง ดีกว่าชนิดโมโนคริสตัลไลน์เล็กน้อย

             – มีราคาถูกกว่าเมื่อเทียบกับชนิดโมโนคริสตัลไลน์

        ข้อเสียแผงโซล่าเซลล์ชนิด โพลีคริสตัลไลน์

             – มีประสิทธิภาพโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 13-16%

             – มีประสิทธิภาพต่อพื้นที่ต่ำกว่า ชนิดโมโนคริสตัลไลน์

             – แผงโซล่าเซลล์ชนิดโพลีคริสตัลไลน์มีสีน้ำเงิน ทำให้บางครั้งอาจดูไม่สวยงาม

 

             3. แผงโซล่าเซลล์ชนิด อะมอร์ฟัส (Amorphous Silicon Solar Cell)

             แผงโซล่าเซลล์ชนิด อะมอร์ฟัส ซึ่งบางครั้งเราจะเรียกแผงโซล่าเซลล์ชนิดฟิล์มบางอะมอร์ฟัสซิลิกอน เป็นการนำเอาสารที่สามารถแปลงพลังงานจากแสงเป็นกระแสไฟฟ้า มาฉาบเป็นฟิล์มหรือชั้นบางๆ ซ้อนกันหลายๆชั้น ซึ่งสารฉาบที่ว่านี้ก็มีด้วยกันหลายชนิด ประสิทธิภาพเฉลี่ยอยู่ที่ 7-13% ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของวัสดุที่นำมาทำเป็นฟิล์มฉาบ แต่สำหรับบ้านเรือนโดยทั่วไปแล้ว มีเพียงประมาณ 5% เท่านั้น ที่ใช้ แผงโซล่าเซลล์ ที่เป็นแบบชนิดฟิล์มบาง

        ข้อดีของแผงโซล่าเซลล์ชนิดอะมอร์ฟัส

             – แผงโซล่าเซลล์มีราคาถูกกว่า เพราะสามารถผลิตจำนวนมากได้ง่ายกว่า ชนิดผลึกซิลิคอน

             – ในที่อากาศร้อนมากๆ แผงโซล่าเซลล์มีผลกระทบน้อยกว่า

             – ไม่มีปัญหาเรื่อง เมื่อแผงสกปรกแล้วจะทำให้วงจรไหม้

             – ถ้าคุณมีที่เหลือเฟือ แผงโซล่าเซลล์ชนิดนี้ก็เป็นทางเลือกที่ดี

        ข้อเสียของแผงโซล่าเซลล์ชนิดอะมอร์ฟัส

             – แผงโซล่าเซลล์มีประสิทธิภาพต่ำ

             – สิ้นเปลืองค่าโครงสร้างและอุปกรณ์อื่นๆ เช่น สายไฟ

             – ไม่เหมาะนำมาใช้ตามหลังคาบ้าน เพราะมีพื้นที่จำกัด

             – การรับประกันสั้นกว่าชนิด ผลึกซิลิคอน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *