เราอาจจะคุ้นเคยกับเครื่องปรับอากาศติดผนังหรือแอร์ติดผนังซึ่งเป็นแอร์ยอดนิยมที่แทบทุกบ้านต้องมี แต่ความจริงแล้วแอร์นั้นมีหลายแบบหลายประเภท แต่ละแบบก็มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันออกไป ในบทความนี้ เราจะมาแนะนำเครื่องปรับอากาศ 3 แบบ ที่เหมาะกับการใช้งานในบ้านให้รู้จักกัน
เครื่องปรับอากาศแบบตั้งพื้น (Floor Type)
เป็นเครื่องปรับอากาศที่มีขนาดใหญ่ ตั้งอยู่กับพื้นห้อง และต้องทำงานร่วมกับคอมเพรสเซอร์ ให้ความเย็นได้ดี แต่ไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้
ข้อดีของแอร์แบบตั้งพื้นคือลมแรงและให้ความเย็นได้รวดเร็วเพราะแอร์อยู่ในระดับเดียวกับตัวเรา เหมาะกับบ้านที่ไม่มีพื้นที่ผนังให้ติดตั้ง
ส่วนข้อเสียของแอร์แบบตั้งคือมีขนาดใหญ่ กินพื้นที่ใช้สอยค่อนข้างมาก และกระจายความเย็นได้ไม่ทั่วถึงเท่ากับแอร์ติดผนัง
เครื่องปรับอากาศแบบเคลื่อนที่ (Moveable Type)
เป็นเครื่องปรับอากาศที่มีขนาดกะทัดรัด ไม่ต้องใช้คอมเพรสเซอร์ เคลื่อนย้ายได้ง่ายเหมือนพัดลมแต่ให้ความเย็นได้ดีกว่า มักใช้ควบคู่กับแอร์หลักของบ้าน เพื่อการกระจายความเย็นอย่างทั่วถึง
ข้อดีของแอร์แบบเคลื่อนที่คือ ไม่ต้องติดตั้ง เคลื่อนย้ายสะดวก
ส่วนข้อเสียของแอร์แบบเคลื่อนที่คือ ใช้ได้กับเฉพาะห้องขนาดเล็ก ให้ความเย็นได้ไม่ทั่วถึงเท่ากับแอร์ติดผนัง
เครื่องปรับอากาศแบบติดผนัง (Wall Type)
แอร์ติดผนังเป็นเครื่องปรับอากาศยอดฮิตที่มีติดบนผนังแทบทุกบ้าน มีรูปแบบดีไซน์ทันสมัย ต้องใช้การทำงานร่วมกับคอมเพรสเซอร์ ใช้ได้กับแทบทุกห้องในบ้านของคุณ
ข้อดีของแอร์ติดผนังคือ กระจายความเย็นได้ทั่วถึง เสียงรบกวนน้อย ดูแลซ่อมบำรุงง่าย
ส่วนข้อเสียของแอร์ติดผนังคือ ไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้
แอร์ติดผนัง ยังแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
3.1 แอร์แบบอินเวอร์เตอร์ (Inverter)
แอร์ติดผนังแบบอินเวอร์เตอร์เมื่อเปิดใช้งานจะมีการเร่งการทำงานของคอมเพรสเซอร์อย่างรวดเร็ว เพื่อทำการปรับอากาศให้อยู่ในอุณหภูมิที่เราตั้งไว้ เมื่อถึงอุณหภูมิที่กำหนดไว้ การทำงานของคอมเพรสเซอร์ก็จะช้าลงเพื่อคงอุณหภูมิให้คงที่ หากอุณหภูมิในห้องเพิ่มสูงขึ้น ตัวคอมเพรสเซอร์ก็จะเร่งการทำงานอีกครั้งเพื่อรักษาอุณหภูมิ
แอร์อินเวอร์เตอร์เหมาะกับห้องแบบไหน?
ด้วยความที่แอร์อินเวอร์เตอร์มีความสามารถในการรักษาอุณหภูมิให้คงที่ จึงเหมาะกับห้องที่ต้องเปิดแอร์ใช้งานนาน ๆ และต้องเป็นห้องที่ไม่มีการเข้าออกบ่อย ๆ เช่น ห้องนอน ห้องทำงาน เป็นต้น
3.2 แอร์แบบธรรมดา (Fix Speed)
คือแอร์ติดผนังที่ไม่มีระบบ Inverter มักจะทำอุณหภูมิให้ต่ำกว่าที่เรากำหนดไว้ อย่างเช่นเรามีการตั้งอุณหภูมิแอร์ที่ 25 องศาเซลเซียส แอร์ติดผนังแบบธรรมดาจะมีการปรับอุณหภูมิให้ต่ำกว่า อาจจะอยู่ที่ 22-23 องศาเซลเซียส (ต่ำกว่าอุณหภูมิที่ตั้งประมาณ 2-4 องศาเซลเซียส) และระบบจะตัดการทำงานของคอมเพรสเซอร์ ก่อนจะกลับมาทำงานอีกครั้งหลังจากที่อุณหภูมิเกินกว่าที่เราตั้งไว้
แอร์ติดผนังแบบธรรมดาเหมาะกับห้องแบบไหน?
แอร์แบบธรรมดานั้นอุณหภูมิจะไม่ค่อยคงที่เนื่องจากไม่มีระบบ Inverter จึงเหมาะกับห้องที่มีการเปิดเข้าออกบ่อย ๆ หรือใช้งานไม่นานมากนัก เช่น ห้องรับแขก หรือห้องนั่งเล่น เป็นต้น
ประเภทของแอร์หรือเครื่องปรับอากาศนั้นเป็นเพียงปัจจัยหนึ่งในการเลือก มีอีกหนึ่งอย่างที่เราต้องพิจารณาควบคู่ไปด้วยกันคือ
ขนาดของเครื่องปรับอากาศที่ต้องเหมาะสมกับขนาดห้อง
ถ้าเทียบ BTU ของเครื่องปรับอากาศก็อาจเปรียบได้กับโทรทัศน์ว่าจอกี่นิ้วถึงจะเหมาะสมกับห้อง เครื่องปรับอากาศก็เช่นกัน หน่วยวัดของมันจะเรียกว่า BTU (British Thermal Unit) หรือก็คือหน่วยวัดของค่าพลังงานความร้อนตามมาตรฐานสากล
เมื่อเราใช้หน่วย BTU คู่กับ “เครื่องปรับอากาศ” มันจะหมายถึงความสามารถในการทำความเย็นเพื่อถ่ายเทพลังงานความร้อนออกจากห้องห้องหนึ่งภายในเวลา 1 ชั่วโมง ยกตัวอย่างเช่นแอร์ 12,000 BTU จะเท่ากับแอร์ตัวนั้นสามารถถ่ายเทความร้อนออกจากห้องได้ 12,000 BTU ใน 1 ชั่วโมง
นี่จึงเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญในการเลือกซื้อเครื่องปรับอากาศ เราต้องเลือกจำนวน BTU ของแอร์ให้เหมาะสมกับขนาดห้องที่จะติดตั้ง หาก BTU มากเกินไป อาจทำให้เราเสียค่าไฟที่แพงขึ้นโดยไม่จำเป็น หรือหากเราเลือกแอร์ที่ BTU ต่ำเกินไป ถึงเราจะได้แอร์ในราคาที่ถูกกว่า แต่ก็อาจจะไม่ตอบโจทย์การใช้งานของพื้นที่นั้น ทำให้ห้องไม่เย็น และทำให้แอร์ทำงานหนัก และเสียค่าไฟแพงขึ้นด้วยเช่นกัน
หากเราไม่รู้ว่าแอร์ขนาดเท่าไหร่ถึงจะเหมาะกับขนาดห้องของเรา เราสามารถ คำนวณค่า BTU แอร์ได้ที่นี่
ถึงตรงนี้ ผู้อ่านคงจะพอทราบแล้วว่าบ้านของเรานั้นเหมาะกับเครื่องปรับอากาศแบบไหน
เราขอแนะนำแอร์ PSI เย็นเร็ว เย็นนาน เย็นล้านเปอร์เซ็นต์
แอร์ PSI เป็นมากกว่าเครื่องปรับอากาศ นอกจากให้ความเย็นแล้ว แอร์ PSI ยังสามารถกรองอากาศ ดักจับสิ่งสกปรกที่มีขนาด 0.1 ไมครอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้ทั้งความเย็นและกรองอากาศที่บริสุทธิ์ให้กับบ้านของคุณ
สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ช่องทางออนไลน์ของ PSI ทุกช่องทาง
LINE : @PSI1247 FB : https://www.facebook.com/psisats